ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาสวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้นำสูตรมาจากโปรตุเกส
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์
6 วิธีเย็บผ้าด้วยมือขั้นพื้นฐาน
- การเนาเท่ากัน : เย็บเพื่อยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกันแบบหลวมๆ เพื่อใช้เป็นแนวสำหรับการเย็บถาวรค่ะ
- การเนาไม่เท่ากัน
- การด้นธรรมดา หรือ ด้นตะลุย : เย็บเพื่อให้ผ้าติดกันอย่างถาวร
- การด้นถอยหลัง : เย็บเพื่อให้ผ้าติดกันอย่างถาวร โดยฝีเข็มจะแข็งแรงทนทานกว่าคล้ายการเย็บด้วยจักรค่ะ
- การสอยซ่อนด้าย : เย็บเพื่อให้เห็นรอยด้ายน้อยกว่าการเย็บแบบอื่นๆ สำหรับใช้ซ่อมแซมเสื้อผ้าบริเวณรอยพับตามปลายแขนเสื้อ ชายกระโปรง หรือชายกางเกงค่ะ
- การสอยฟันปลา หรือ ซิกแซกฟันปลา : นิยมสอยชายเสื้อ ชายกระโปรง เพื่อคร่อมรอยขาดค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น